วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
(Innovation and Information Management)
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาองค์การในแง่ของระบบสารสนเทศ ความสำคัญของบทบาทของระบบสารสนเทศในการบริหาร การสื่อสารและเครือข่ายการสร้างระบบสารสนเทศ นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารการศึกษา การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารและการจัดการศึกษา นวัตกรรมกับการพัฒนาระบบสารสนเทศ การบริหารระบบสารสนเทศ และการบริหารระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษา วิเคราะห์หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรม ระบบสารสนเทศในการบริหาร การสื่อสารและเครือข่ายการสร้างระบบสารสนเทศ นวัตกรรมทางการศึกษา และการบริหารการศึกษา
2. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการการสื่อสารการบริหารและการจัดการศึกษาด้วยระบบสารสนเทศ
3. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการการพัฒนาระบบสารสนเทศในการบริหารองค์กร ด้วยระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับนวัตกรรมและระบบสารสนเทศ มาประยุกต์ใช้กับองค์กรทางการศึกษาได้อย่างน้อยหนึ่งระบบ

หน่วยการเรียนรู้

หน่วยที่ 1 นวัตกรรม และระบบสารสนเทศองค์การ
Ø แนวคิดของนวัตกรรม และส่วนประกอบพื้นฐานขององค์การ
Ø การบริหารองค์กรดิจิตอล
Ø บทบาทของระบบสารสนเทศในองค์กร
Ø การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์

หน่วยที่ 2 เทคโนโลยีพื้นฐานในการพัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารการศึกษา
Ø ส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์
Ø อุปกรณ์บันทึกข้อมูล และระบบโทรคมนาคม
Ø เทคโนโลยีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
Ø การบริหารแหล่งข้อมูล


หน่วยที่ 3 การออกแบบองค์กรใหม่ในสถานศึกษาโดยใช้ระบบสารสนเทศ
Ø การพัฒนาระบบงาน และการบริหารความรู้ในองค์กร
Ø การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ
Ø การพัฒนาระบบการตัดสินใจของผู้บริหาร
Ø การรักษาความปลอดภัยและการควบคุมระบบสารสนเทศ

หน่วยที่ 4 การบริหารระบบสารสนเทศในยุคปัจจุบัน
Ø การเชื่อมต่อองค์กรผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งในประเทศและต่างประเทศ
Ø การรักษาความปลอดภัยของระบบ
Ø การสร้างคุณธรรมและจริยธรรมที่จะเกิดขึ้นในสังคมของการใช้ข้อมูลข่าวสาร
Ø ระบบสารสนเทศระหว่างประเทศ

นวัตกรรมและระบบสารสนเทศองค์การ

เทคโนโลยี
• วิทยาการที่นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ
หลักการใช้
• ประสิทธิภาพของงาน (efficiency)
• ประสิทธิภาพ (productivity)
• ประหยัด (economy)
การศึกษา (education)
• มีความหมายกว้างขวางครอบคลุมการพัฒนา การส่งเสริมมนุษย์และสังคมให้มีความเจริญงอกงามในทุกด้านทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม
เทคโนโลยีการศึกษา
• เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการประยุกต์เอาเทคนิค วิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือใหม่ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ปัญหาทางการศึกษาทั้งในด้านการขยายงานและด้านการปรับปรุงคุณภาพของการเรียนการสอน
ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา
• ทำให้มีการเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
• สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้
• สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
• ช่วยให้การจัดการศึกษามีพลังมากขึ้น มีบทบาทสำคัญในการสอนและการจัดการศึกษา
• ทำให้การเรียนอยู่แค่เอื้อม นำเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้กับการศึกษาทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น
• ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา
เทคโนโลยีการสอน
• เทคโนโลยีการสอนเป็นภาพของการแสวงหาแนวทางและวิธีการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นวัตกรรม
• ความคิดและการกระทำใหม่ ๆที่ผ่านการพิสูจน์และนำเอามาใช้ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
นวัตกรรมการศึกษา
• ความคิดหรือวิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการพิสูจน์ทดลองจนเป็นที่ยอมรับและเชื่อถือได้ นำมาใช้ในการส่งเสริม ปรับปรุง ระบบและกระบวนการทางการศึกษาให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนวัตกรรม
• เป็นความคิดหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งที่คิดประดิษฐ์ขึ้นเอง
• การพิสูจน์ด้วยการวิจัย การทดลองใช้มาก่อน
• นำวิธีระบบมาใช้ชัดเจน
• ความคิดหรือกระทำใหม่ๆ
ความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอน
• ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและเข้าใจถูกต้องชัดเจนมากขึ้น
• สนองตอบเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล
• ทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพสูงขึ้น
• มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
• ทำให้กระบวนการเรียนรู้ไม่เน้นเฉพาะด้านความรู้เพียงอย่างเดียว
• ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาแก่ประชากรมากขึ้น
การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
(Data communication and computer Network)

องค์ประกอบที่ต้องเรียนรู้
o องค์ประกอบของการสื่อสาร
— เทคโนโลยีการสื่อสาร
— เครือข่ายไร้สาย
— โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
— รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
— ชนิดของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของการสื่อสาร
การสื่อสาร
(Communication)
เป็นกระบวนการสำหรับถ่ายทอดหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือสารสนเทศระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารโดยทั่วไปใช้ระบบสัญลักษณ์ร่วมกัน เช่น ท่าทาง ภาษามือ ตัวอักษร ตัวหนังสือ หรือภาษาต่างๆ ซึ่งมนุษย์ได้มีการพัฒนาการติดต่อสื่อสารมาตั้งแต่อดีตที่ใช้ควันไฟ จดหมาย โทรเลข โทรศัพท์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันที่มีการสื่อสารผ่านโทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต และดาวเทียม

การสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
เป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร หรือระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านสื่อกลาง (Transmission Media) ที่ใช้ในการส่งผ่านข้อมูล

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender) เป็นแหล่งต้นทางของการสื่อสารโดยมีหน้าที่ในการให้กำเนิดหรือเตรียมข้อมูล เช่น ผู้พูด คอมพิวเตอร์ต้นทาง เป็นต้น
2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) เป็นแหล่งปลายทางของการสื่อสาร หรือเป็นอุปกรณ์ที่จะนำข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไปเช่น ผู้รับ คอมพิวเตอร์ปลายทาง เครื่องพิมพ์
3. ข่าวสาร (Message) มีได้หลายรูปแบบ เช่น ข้อความ (Text) เสียง (Voice) รูปภาพ (Image) สื่อผสม (Multimedia)
4. สื่อกลางหรือตัวกลางในการนำส่งข้อมูล (Medium) เป็นสื่อหรือช่องทางที่ใช้ในการนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง ซึ่งอาจเป็นตัวกลางที่มีสายสัญญาณเช่น สายไฟ หรือตัวกลางที่ไม่ใช้สายสัญญาณ เช่น อากาศ เป็นต้น
5. โปรโตคอล (Protocol) เป็นข้อกำหนดหรือข้อตกลงถึงกฎระเบียบและวิธีการที่ใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน

เทคโนโลยีการสื่อสาร
การทำให้เกิดการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เกิดระบบธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ คือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยจะนำเสนอเพื่อความเข้าใจในรูปแบบของ แบบจำลองการสื่อสารและระบบโทรคมนาคม ดังนี้

แบบจำลองการสื่อสาร
1. แหล่งต้นทาง (Source)
2. เครื่องส่ง (Transmitter)
3. ระบบการส่ง (Transmission System)
4. เครื่องรับ (Receiver)
5. แหล่งลายทาง (Destination)

ระบบโทรคมนาคม
การสื่อสารข้อมูลระยะทางไกลในรูปแบบสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ ในช่วงก่อนการโทรคมนาคมมีขีดจำกัดอยู่เพียงการสื่อสารโดยเป็นเสียงคนผ่านสายโทรศัพท์ แต่ในปัจจุบันการส่งสัญญาณโทรคมนาคมเกือบทั้งหมดเป็นการถ่ายทอดสัญญาณในรูปแบบดิจิตอล โดยใช้คอมพิวเตอร์ในการถ่ายทอดข้อมูลจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกสถานที่หนึ่งเชื่อกันว่าการพัฒนาการของระบบโทรคมนาคมได้มาถึงช่วงกลาง โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีไปทั่ว

ระบบโทรคมนาคม
1. เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการประมวลผล
2. เครื่อง Terminal สำหรับรับและการแสดงผลข้อมูล
3. ช่องสื่อสาร คือการเชื่อมต่อในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์ สายใยแก้วนำแสง เป็นต้น
4. อุปกรณ์ประมวลผลสำหรับการสื่อสาร เช่น โมเด็ม เป็นต้น
5. software สื่อสารซึ่งควบคุมกิจกรรมการส่ง รับข้อมูล บริหารจัดการหน้าที่ต่างๆ อำนวยความสะดวกในการสื่อสาร

ชนิดของสัญญาณ
— สัญญาณอนาลอก (Analog Signal) เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง การส่งสัญญาณจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกค่าถูกนำมาใช้งานนั่นเอง เป็นสัญญาณที่สื่อกลางในการสื่อสารส่วนมากใช้อยู่ เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์เป็นต้น
— สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) เป็นสัญญาณที่ประกอบจาก 2 ค่าคือ สัญญาณระดับสูง และสัญญาณระดับต่ำ ดังนั้นจะมีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือสูงกว่าแบบ Analog เนื่องจากมีการใช้งานค่าเพียง 2 ค่า เพื่อนำมาตีความหมายเป็น on/off หรือ 1/0 เท่านั้น เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงาน และติดต่อสื่อสารกัน

ทิศทางการสื่อสารข้อมูล
1. แบบทิศทางเดียว (Simplex) ข้อมูลจะถูกส่งจากทิศทางหนึ่งไปยังอีกทิศทางหนึ่ง โดยไม่สามารถย้อนกลับมาได้ เช่น ระบบวิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
2. แบบกึ่งสองทิศทาง (Half Duplex) ข้อมูลสามารถส่งสลับได้ ทั้งสองทิศทาง โดยผลัดกันส่ง เช่นวิทยุสื่อสารแบบผลัดกันพูด
3. แบบสองทิศทาง (Full Duplex) ข้อมูลสามารถส่งพร้อม ๆ กันได้ทั้งสองทิศทางอย่างอิสระ เช่น ระบบโทรศัพท์

ช่องทางการสื่อสารข้อมูล
สามารถแบ่งเป็นแบบมีสายสัญญาณและไร้สายสัญญาณคือ wired และ Wireless สื่อกลางแบบมีสายสัญญาณ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
— ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถทําการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้
— รูปแบบในการเชื่อมต่อเครือข่าย หมายถึง ลักษณะทางกายภาพของเครือข่าย รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสารของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไปภายในเครือข่ายซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันโดยหลักแล้วสามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ

โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology)
2. การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topologgy)
3. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology)
อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
HARDWARE
1. NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ด ที่ใช้เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับสายสื่อสาร
2. HUB เป็นอุปกรณ์จำเป็นในการต่อสายLAN แบบ UTP มี PORT เป็น 8,16 ,24
3. Bridge เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครือข่าย LAN 2 เครือข่ายจะทำงานที่ Layer 1 ทำหน้าที่ทวนซ้ำสัญญาณเช่น ในระบบเครือข่ายมี PC 10 เครื่อง เมื่อ PC1 ต้องการส่งข้อมูลไปยัง PC5 ในขณะนั้น PC อื่นๆ จะไม่สามารถส่งข้อมูลได้
4. Switching Switch จะทำงานที่ Layer 2 จะทำงานเหมือนกับ Hub แต่ ขณะที่ PC1 ส่งข้อมูลไปยัง PC5 PC อื่นๆ จะยังสามารถส่งข้อมูลได้พร้อม ๆ
5. Router เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เหมือนกับบริดจ์แต่จะมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยสามารถจัดหาเส้นทางข้อมูล เพื่อส่งไปยังสถานีปลายทางได้อย่างถูกต้อง โดยปัจจุบันมีการรวมหน้าที่การทำงานของ Gateway ไว้ในRouter
เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา
• คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Assisted Instruction : CAI)
• สื่อผสม (Multimedia)
• ระบบวีดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Video Conference)
• ห้องสมุดเสมือน (Virtual Library)
โครงสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
การออกแบบวิธีการเรียนการสอน (Instructional Design) ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
1. การนำเสนอเนื้อหา (Presentation)
2. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (Interactive)
3. การประเมินผลการเรียน (Evaluation)

1. การนำเสนอเนื้อหา (Presentation) การนำเสนอเนื้อหา บทเรียน นำเสนอด้วยระบบมัลติมีเดีย
ประกอบด้วย ภาพ (visual)+เสียง (audio) ซึ่งสามารถนำเสนอได้ 6 รูปแบบ
1. รูปแบบการสอนหรือแบบทบทวน (Tutorial instruction)
2. รูปแบบการฝึกหัด (Drills and practice)
3. รูปแบบและสถานการจำลอง (Simulation)
4. รูปแบบเกมเพื่อการสอน (Instruction games)
5. การทดสอบ (Testing)
6. การสาธิต (Demonstration)
2. การปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน (Interactive) เป็นหลักการของการสื่อสารแบบสองทาง คือ หลังจากเนื้อหาจบเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น จัดเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน รูปธรรมคือแบบทดสอบ
3. การประเมินผลการเรียน (Evaluation) คำตอบของคำถามแต่ละบทเรียนจะถูกรวบรวมและนำไปคำนวณเพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้หรือเพื่อหาผลการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ สมควรเรียนในระดับใดต่อไป

ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. การนำเสนอได้ในรูปแบบที่หลากหลาย
2. การยืดหยุ่นในเรื่องเวลา
3. ผู้เรียนมีอิสระในการเลือกสถานที่เรียน และบทเรียน และเนื้อหา
4. การวินิจฉัย การเรียนซ่อมเสริม และการยกเว้น
5. ผู้เรียน สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนได้อย่างแท้จริง

• สรุป ทำให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบ ผู้เรียนมีส่วนกำหนด การตัดสินใจเลือกวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

สื่อประสม
สื่อประสม หมายถึง การนำสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหานักเทคโนโลยีการศึกษาแบ่งสื่อตามความหมาได้ 2 กลุ่ม (ทั้งภาพและเสียง)
1. เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วมกันในการเรียนการสอน เช่นวีดีทัศน์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์มาประกอบการบรรยาย
2. ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการนำเสนอสารสนเทศหรือการผลิต เพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ

สื่อประสม
ประกอบด้วย 5 ส่วนที่สำคัญคือ
1. ภาพนิ่ง
2. ภาพเคลื่อนไหว เป็นภาพกราฟิกเคลื่อนไหว หรือ Animation
3. ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ใช้เทคนิคการบีบอัด รูปแบบภาพคือ QuickTime, AVI และ MPEG
4. เสียง ที่นิยมมี 2 แบบ คือ Waveform (WAVเสียงจริง-ข้อเสียเสียงไม่ชัดไม่ดี) และ Musical Instrument Digital Interface (MIDIข้อดีเสียงชัดข้อเสียไฟด์ใหญ่)
5. ส่วนต่อประสาน เมื่อมีการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ นำมารวบรวบรวมเป็นแฟ้ม ข้อมูลด้วยโปรแกรมสร้างสื่อประสม

ประโยชน์ของสื่อประสม
1. การประยุกต์ใช้ในการผลิตสื่อการเรียน
2. การนำเสนอสินค้า ที่มีความน่าสนใจมากกว่าเดิม
3. ข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ได้รับความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
4. ช่วยดึงดูดผู้ชมสื่อโฆษณามากยิ่งขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่แปลกและใหม่
5. สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง
6. นันทนาการ
7. ลักษณะความจริงเสมือน (Virtual Reality)

วีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
คือ การประชุมทางไกล ประกอบด้วย 2 ส่วนสำคัญ คือ
1. เครือข่ายโทรคมนาคม มีหน้าที่เชื่อมต่อสัญญาณจากผู้ร่วมประชุมแต่ละฝ่ายเข้าด้วยกัน
2. อุปกรณ์เชื่อมต่อ (Terminal) เป็นอุปกรณ์ต้นทางและปลายทางทำหน้าที่รับและถ่ายทอดภาพและเสียงได้แก่ จอโทรทัศน์ เครื่องฉายภาพ กล้องวีดีทัศน์ ไมโครโฟน เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

ห้องสมุดเสมือน
ห้องสมุดเสมือน เป็นการทำงานของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคมผสมผสานกับการจัดการฐานข้อมูลจากแหล่ง ต่าง ๆ ทั้งข้อมูลจากห้องสมุดและข้อมูล จากแหล่งความรู้อื่น ๆ เป็นเสมือนประตูเชื่อมโยงแหล่งข้อมูลห้องสมุดทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน โดยไม่จำเป็นต้องมีอาคารสถานทีในการจัดเก็บ

แบ่งออกได้ 3 ระดับ
1. ผู้ใช้เข้าถึงห้องสมุดโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ การใช้ห้องสมุดอัตโนมัติ คือ OPAC (Online Public Access Catalog) ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จากหน้าจอ OPAC
2. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ และมีการนำส่งเอกสารที่เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ โดยผู้ใช้อาศัยหน้าจอ OPAC และจากเครือข่ายห้องสมุดซึ่งสามารถแปลงผลลัพธ์ที่ได้ ส่งผ่านไปยังสื่อข้างต้น
3. ผู้ใช้เข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ โดยทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นห้องสมุดที่ปราศจากหนังสือ โดยสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ ที่ต้องการผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโทรคมนาคม
นวัตกรรมทางการศึกษา
ความหมายของนวัตกรรม
ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลา และแรงงานได้ด้วย

ความสำคัญของนวัตกรรมทางการศึกษา
การศึกษาจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้น นำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษาเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา เป็นไปอย่างรวดเร็ว นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนให้สามารถสอนได้จำนวนคนที่มากขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การเรียนการสอนจึงตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัด นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้
3. การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้ม ของการเรียนรู้ไดด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง นวัตกรรมการศึกษาที่ตอบสนองผู้เรียนตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม การสื่อสารไร้พรมแดน การสร้างแหล่งเรียนรู้ทางการศึกษาที่ทำให้ไม่เลือกกลุ่ม ผู้เรียน เรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา (Anyone any where Any time)

ขอบข่ายของนวัตกรรม
วิธีการเรียนการสอน เทคนิควิธีการสอน การพัฒนาสื่อการเรียนการสอน การใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการออกแบบหลักสูตรให้มีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการวัดผลแบบใหม่ ดังนี้
1. การจัดการการเรื่องการสอยด้วยวิธีการใหม่ ๆ
2. เทคนิควิธีการสอนแบบต่าง ๆ ที่ไม่เคยมีการทำมาก่อน
3. การพัฒนาสื่อใหม่ ๆ เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน
4. การใช้เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาปรับใช้ในระบบการเรียนการสอนในระบบทางไกลและการเรียนด้วยตนเอง
5. วิธีการในการออกแบบหลักสูตรใหม่ ๆ
6. การจัดการด้านวัดผลแบบใหม่ ๆ
นวัตกรรมทางการศึกษา ส่งผลให้ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เกิดจากการศึกษาสภาพปัญหา และความเหมาะสมในการพัฒนา นวัตกรรมทางการศึกษาให้มีรูปแบบที่เหมาะสมกับการจัดการเรียน การศึกษาสมัยใหม่
การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ที่ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันทีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
2. ความพร้อม (Readiness)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling)
4. ประสิทธิภาพในการเรียน (Learning Performance)

ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
1. การเรียนแบบไมแบ่งชั้น (Non-Graded School)
2. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
3. เครื่องสอน (Teaching Machine)
4. การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

ความพร้อม (Readiness)
1. ศูนย์การเรียน (Learning Center)
2. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
3. การปรับปรุงการสอน 3 ระยะ (Instructional Development in 3 Phases)

การใช้เวลาเพื่อการศึกษา (Scheduling)
1. การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
2. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
3. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
4. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)

ประสิทธิภาพในการเรียน (Learning Performance)
1. มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
2. การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ (Learning via radio or TV)
3. การเรียนทางไปรษณีย์ (Post mail Learning)
4. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
5. ชุดการเรียน (Learning Toolkits)

การจัดการนวัตกรรมการศึกษา
1. e-learning
2. ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)
3. การศึกษาทางไกล (Distance Learning)
4. การจัดกาเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
5. มิติใหม่แห่งการศึกษาไร้พรมแดน
6. สื่อหลายมิติ (Hypermedia)
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

ข้อมูล (Data)
ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อไป โดยข้อมูลอาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำไปใช้ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ (Information)
ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ข้อเท็จจริง ความคิดเห็นหรือประสบการณ์ส่วนบุคคล ที่นำมาผ่านกระบวนการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และคาดการณ์อนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตารางแผนภูมิ รูปภาพ เสียงและสัญลักษณ์ต่าง ๆยุคของเทคโนโลยีสารสนเทศ ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจ และการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูลเกิดจาก Raw Facts สารสนเทศเกิดมาจากการรวบรวมข้อมูลทีผ่านการจัดการเปลี่ยนแปลงสถานภาพของข้อมูล (tuning data) ให้เป็นสารสนเทศคือการประมวลผล (process) แสดงได้ดังภาพต่อไปนี้

ประโยชน์ของข้อมูลและสารสนเทศในการบริหารงาน
1. ด้านการวางแผน
2. ด้านการตัดสินใจ
3. ด้านการดำเนินงาน
4. มีความถูกต้อง (accuracy)
5. มีความสมบูรณ์ (completeness)
6. ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance)
7. มีความทันสมัย (up to date)
8. ตรวจสอบได้ (verifiable)
9. ความประหยัด (economics)
10. ความยืดหยุ่น (flexibility)
11. สามารถเผยแพร่ได้ (presentation)
12. ความง่าย (simple)
13. ทันกับความต้องการ (timeliness)

ระบบและระบบสารสนเทศ

ระบบ
หน่วยงานหรือองค์กรที่เกิดขึ้นจากการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อน เข้าด้วยกันหรือชุดขององค์ประกอบที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในรูปแบบของความสัมพันธ์ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และดำเนินงานร่วมกันไปเพื่อสู่เป้าหมายเดียวกัน

องค์ประกอบสำคัญของการดำเนินการของระบบ
1. ส่วนนำเข้า (Input)
2. การประมวลผล หรือกระบวนการ (Process)
3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output)
4. ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
หลักการระบบสารสนเทศ(Information System)
ระบบการจัดการสารสนเทศที่นำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินการ ด้านการจัดการ การค้นคืน การรวบรวมการประมวลผลและแสดงผล ตลอดจนการเผยแพร่ และแสดงผลเป็นสารสนเทศ ซึ่งเป็นผลผลิตของระบบซึ่งมีเป้าหมาย ได้แก่ การผลิตสารสนเทศที่เหมาะสมจากข้อมูลที่นำเข้าระบบ เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ การประสานงาน และการควบคุมภายในองค์กร อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการดำเนินการธุรกิจขององค์กร และหาข้อมูลย้อนกลับเพื่อปรับปรุงแก้ไขให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้


องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
1. นำข้อมูลมาเป็นตัวป้อน data=input
2. เทคโนโลยีสารสนเทศ
3. ฐานข้อมูล (Database)
4. ระบบการควบคุม
5. โปรแกรมคอมพิวเตอร์
6. บุคลากร
7. ผู้ใช้งาน

เป้าหมายของระบบสารสนเทศ
1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในองค์กรเพิ่มขึ้น ได้เปรียบในการแข่งขันทางการผลิต
3. เพิ่มคุณภาพในการให้บริการ
4. ผลิตสิ่งใหม่
5. การสร้างโอกาสทางธุรกิจ
6. ดึงดูดลูกผ้า ผู้ที่สนใจ

Fundamental function of Information system
1. Input function
2. Storage function
3. Processing function
4. Output function
5. Communication function


SOFTWARE
ระบบปฏิบัติการของระบบเครือข่ายเรียกว่า NOS (Network Operating System) เป็นตัวติดต่อระหว่างสถานีผู้ใช้ กับไฟล์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell’s Netware OS/2 LAN Server, Microsoft Windows NT Server, Microsoft Windows NT 2000, Apple share, Unix ,Linux etc.

อุปกรณ์การสื่อสารข้อมูล
ตัวกลางนำสัญญาณ ตัวกลางที่ใช้ในระบบเครือข่าย สามารถเป็นได้ หลายชนิด เช่น Coaxial cable, UTP, Fiber Optic และคลื่นวิทยุที่ใช้กับ Wireless LAN เป็นต้น
รูปแบบการประมวลผลข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. การประมวลผลแบบรวมศูนย์ (Centralized Processing)
— การประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch processing)
— การประมวลผลแบบออนไลน์ (Online Processing) real time
2. การประมวลผลข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Processing)

ชนิดเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. เครือข่ายส่วนบุคคล (PAN: Personal Area Network)
2. เครือข่ายระยะใกล้ (LAN: Local Area Network)
3. เครือข่ายระดับเมือง (MAN: Metropolitan Area Network)
4. เครือข่ายระยะไกลระดับประเทศ (WAN : Wide Area Network)

วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2553

โลกใบนี้ไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ

โลกกลมๆ ใบนี้ ไม่มีอะไรได้มาฟรี ๆ ของฟรีไม่เคยมี ของดีไม่เคยถูก
คุณว่าจริงไหม . . .?
อย่าไปให้ความสำคัญกับใครบางคน เมื่อคุณเป็นแค่ทางเลือกของเขา.
สัมพันธภาพจะดีที่สุดเมื่อทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญกันอย่างสมดุล
ไม่ต้องสาธยายเกี่ยวกับตัวคุณให้ใครฟังหรอก เพราะคนที่ชอบคุณ
ยังไงเขาก็ชอบ
และไม่ต้องการฟังมัน แต่คนที่เกลียดคุณ ยังไงเขาก็ไม่เชื่อคุณหรอก
เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณยุ่ง คุณก็จะไม่ว่างเลย เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณไม่มีเวลา
คุณก็จะไม่มีเวลาเลย เมื่อคุณพูดแต่ว่าคุณจะทำในวันพรุ่งนี้
วันพรุ่งนี้จะไม่มีวันมาถึงเลย เมื่อเราตื่นขึ้นมาในยามเช้า เรามีทางเลือกง่ายๆ 2
อย่าง กลับไปนอนและฝันหวานต่อ หรือ ลุกขึ้นมาแล้วทำความฝันให้เป็นจริง
มันก็แล้วแต่คุณจะเลือกแล้วล่ะ

เรามักทำให้คนที่ใส่ใจเราต้องร้องไห้
เรามักร้องไห้ให้กับคนที่ไม่เคยใส่ใจเรา
และเรามักใส่ใจกับคนที่ไม่มีวันร้องไห้ให้เรา นี่คือความจริงของชีวิต
เป็นเรื่องแปลกแต่จริง ถ้าเห็นคุณเห็นด้วย มันก็ยังไม่สายเกินแก้
เมื่อคุณกำลังสนุกสนาน ก็อย่ารับปากพล่อยๆ เมื่อคุณกำลังเศร้า ก็อย่าได้ตอบกลับ
เมื่อคุณกำลังโกรธ ก็อย่าไปตัดสินใจอะไร คิดให้ถี่ถ้วน ทำอย่างสุขุม
เวลาก็เหมือนสายน้ำ คุณไม่มีทางสัมผัสน้ำเดียวกันได้สองครั้งหรอก
เพราะมันได้ไหลผ่านไปแล้ว มีความสุขกับทุกช่วงชีวิตของเราดีกว่า...
ส่งผ่านให้ใครก็ได้ที่คุณห่วงใย หากคุณได้รับคืน หมายถึง คุณได้พบเพื่อนแท้แล้ว
ดอกไม้ในไร่ฝัน